Week 1: Exercise 2 - Focused Task Blocks

self development tips Jan 03, 2024

Casual Time Blocks

ในหลายปีที่ผ่านมามีคนสนใจเรื่อง Productivity กันมาก ๆ และหนึ่งในวิธีสร้างให้เกิดขึ้นได้คือการบล็อกตารางเวลาเอาไว้เลย เช่น หนึ่งชั่วโมงของตอนหกโมงเช้าทุกวันทำงานผมจะออกกำลังโดยไม่สนใจอย่างอื่นเลย, สิบเอ็ดโมงเช้าของทุกวันศุกร์ผมจะคุยกับทีม, วันเสาร์หกโมงเช้าถึงเจ็ดโมงจะสรุป Notes & Post-its ทั้งหมดในสัปดาห์ให้เป็น Digital Format

 

ยิ่งสูงยิ่งต้องโฟกัส

ถ้าบอกว่าจะทำอะไรจริงจังในช่วงเวลานึงอย่างเดียวเท่านั้นก็ดูจะได้ผลดีแหละครับเพราะเราโฟกัส ซึ่งโดยธรรมชาติของงานที่ผมทำก็เป็นแบบนั้นอยู่แล้วเพราะการเป็นที่ปรึกษาของบริษัทใดบริษัทหนึ่งเราจะหลุดโฟกัสไม่ได้เลย … สิบโมงเช้าถึงสิบเอ็ดโมงครึ่งประชุมรายงานประจำเดือนกับฝ่ายบริหารชุดใหญ่และ Mid-Management อีกยี่สิบกว่าคน (ที่แต่ละแผนกมีโอกาสถามผมได้ตลอดเวลา), ครึ่งชั่วโมงต่อจากนี้เป็นการ Debriefing กับทีมของเราเองให้เข้าใจตรงกัน, บ่ายโมงคุยเรื่องการปรับโมเดลล่าสุดให้ลูกค้าอีกรายและเวนเดอร์ที่เป็นคนสร้าง AI ตัวใหม่ที่กำลังใช้ข้อมูลย้อนหลัง 6 ปีหลายแสน Transactions มา Train AI, บ่ายสองคุยกับลูกค้าที่กำลังสร้าง Strategy ใหม่ให้กับทีมขายที่เจอคู่แข่งตัดราคา … สลับ Tasks ของผมไปตลอดทั้งวันโดยกลายเป็น Timeblocking ไปในตัว

แต่ผมไม่อยากให้ทำแค่ Time blocking ตามที่เขาบอกว่าให้จัดเวลาทำงาน (หรือสำหรับคนที่ยังไม่เคยทำก็ไม่จำเป็นจะต้องเริ่มทำแบบนั้นเสมอไปครับ) … สิ่งที่เราต้องการคือ “เวลาที่จะโฟกัสกับอะไรซักอย่างที่เราก็ไม่เคยสนใจมาก่อน” … อยากให้เข้าใจตรงนี้ดี ๆ นิดนึงครับ เรากำลังอยากที่จะสั่งสมองของเราให้โฟกัสได้อย่างที่ต้องการ เราเลยหาวิธีแบบนี้ … Execise 1 ของเราเลยฝึกสั่งกดปุ่มแล้วสมองหยุดคิดเรื่องอะไรซักอย่างที่อยู่ในหัวของเราได้ … Exercise 2 ของเราก็จะกลับกันคือสั่งให้โฟกัสได้ ต่อให้เป็นเรื่องที่เราไม่เคยรู้ ไม่เคยสนใจ หรือไม่เคยต้องสนใจ

 

Distraction เพราะเรามีข้อมูลอื่นที่น่าสนใจกว่า

พวกเราหลายคนมีอาการโฟกัสไม่ได้ โดยเฉพาะเรื่องที่ไม่ได้สนใจนัก (เช่นในประชุมที่เราไม่มีบทบาทมากนัก, เรียนวิชาที่เราไม่ค่อยชอบ, อ่านหนังสือที่นอกแนวความชอบของเราเป็นต้น) … เรามักจะหมดความสนใจเร็วและหันไปหาอะไรใหม่ได้เร็วเพราะมันอยู่ในมือถือเราละครับ … กินข้าวกับเพื่อนที่เราไม่สนใจ เราก็เปิดโทรศัพท์ไปโดยไม่รู้ตัวมั้ยล่ะ?

เราเลยต้องฝึกให้สมองทำตามที่เราต้องการคือ “สนใจ” ให้ได้อย่างที่ต้องการต่อให้เป็นเรื่องที่ไม่ชอบก็ตาม

20 นาทีต่อวันนี้ก็จะเป็นบล็อกกิ้งที่ใช้ฝึกสมองของเราล้วน ๆ ครับ

Setting The Scence - ทำในบ้าน, หรืออยู่ระหว่างการเดินทางที่ไม่ต้องขับเอง

Environment- เช่นเดิมครับ อยู่เงียบ ๆ และไม่ต้องการให้ใครมาเรียกหรือรบกวน

Choosing The Method- หา Contents ละครับ … โดยเป็นเรื่องที่เราไม่เคยสนใจมาก่อน (ถ้าเป็นเรื่องที่เราชอบอยู่แล้วอาจจะไม่ได้ประโยชน์เท่าแบบแรกนะครับ) … ตอนฝึกแรก ๆ ผมเคยใช้เพลงคลาสสิคเป็นจุดเริ่มต้น ไม่เคยฟัง ไม่เคยสนใจมาก่อน แต่ผมเลือกมาแทนสวดมนต์ที่ผมน่าจะไม่จบ 20 นาทีซะก่อน 555+

ถ้าคุณไม่คุ้นเคยกับเพลงคลาสสิค ผมแนะนำเลยครับใน YouTube มีให้เลือกเยอะเลย มีทั้งที่ไม่หนักไป ทำได้เหมือนเทคคอร์สออนไลน์สั้น ๆ เช่น Interpretation Class ของ Boston Philharmonic ในเพลง Symphony Number 5, Beethoven (22 นาที)

ถ้าคุณไม่เคยสนใจเรื่องอาหารและเครื่องใช้ในครัว ผมแนะนำคลิปของช่อง Epicurious ที่ชื่อคลิปว่า How to Use Every Untencils ฮะ

ถ้าคุณพร้อมจะไปไกลกว่านั้นอีกหน่อยก็ลองใช้การฟังสิ่งที่ไม่เคยฟัง เช่นเพลงใหม่ ๆ , สารคดีหรือข่าวก็ยังได้ แต่ไม่เปิดภาพนะครับ, วางแผนบล็อกเวลาแล้วลงมือเลย

Your Time, Your Mode- เมื่อเริ่มเข้าสู่ไทม์บล็อกแล้วจะโฟกัสทำไปให้เสร็จแล้วค่อยทำอย่างอื่น สมองจะเรียนรู้โฟกัสครับ

Ending Intention - วันนี้ทำได้แล้ว พรุ่งนี้เราตั้งใจจะทำอะไรอีก? ทำกี่โมงดี?

Stretching - เมื่อสมองบอกว่าจบ Session แล้วอย่าลืมบอกร่างกายให้สอดคล้องกันด้วยครับ

Positive Affirmation - ย้ำกับตัวเองอีกซักทีว่าวันนี้โฟกัสได้ยี่สิบนาทีตามเป้าหมาย ต่อให้เป็นเรื่อง … ที่เราไม่ได้สนใจนัก แต่เราก็ปรับโหมดมาโฟกัสได้อย่างที่ตั้งใจ

Objective - เมื่อเราสั่งสมองให้หยุดความสนใจแล้ว เราก็ต้องสามารถสั่งให้สมองสนใจหรือตั้งใจโฟกัสได้ด้วย อย่างที่บอกเอาไว้ก่อนหน้านี้ละครับว่าสมองที่ฟิตพอจะสั่งได้ ส่วนสมองที่ล่องลอยได้เรื่อย ๆ จนเริ่มติดนิสัยหลุดโฟกัสก็มักจะมีอาการอื่น ๆ ตามมาอีกมาครับ เอาไว้คุยกันยาว ๆ ได้เลยในเรื่องนี้